ประวัติโรงเรียน
admin
29/05/2016
แนะนำพระเพลิง
1,297 Views
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านพระเพลิง เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2513 ซึ่งชุมชนร่วมกันบริจาคพื้นที่ให้โรงเรียน 27 ไร่ มีอาคารไม้ชั่วคราว 1 หลัง จำนวน 2 ห้องเรียน ขณะนั้นโรงเรียนบ้านพระเพลิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 12 บ้านพระเพลิง ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จัดชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 – ป.4 มีนักเรียน 48 คน มีครูทำการสอน 2 คน คือ นายประภัทร์ พนมเชื้อ เป็นครูใหญ่ และ นายเถลิง กลมเหลาเป็นครูสายผู้สอน ต่อมานายประภัทร พนมเชื้อ ย้ายจากโรงเรียนบ้านพระเพลิง นายเถลิง กลมเหลา จึงได้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทน โดยมีสิ่งปลูกสร้างในโรงเรียน ดังนี้
ปีพ.ศ.2515 ได้บ้านพักครู 1 หลังแบบกรมสามัญ /2 1 หลัง
ปีพ.ศ.2518 ได้อาคารเรียนแบบป.1 ข 1 หลัง 4 ห้องเรียนเปิดทำการสอนถึงป.7 ได้บ้านพักครูแบบกรมสามัญ /2 2 หลัง
ปีพ.ศ.2519 ได้บ้านพักครู 1 หลังแบบกรมสามัญ/2 1หลัง
ปีพ.ศ.2521 ได้อาคารเรียนแบบป.1 ก 1 หลัง 4 ห้องเรียน
ปีพ.ศ.2522 ได้อาคารเรียนแบบป.1 ก 1 หลัง 4 ห้องเรียน
ปีพ.ศ.2523 ได้อาคารอเนกประสงค์ (โรงฝึกงาน) แบบกรมสามัญ 312 1 หลัง
ปีพ.ศ.2525 ได้อาคารเรียนแบบป.1 ก 1 หลัง 4 ห้องเรียน
และใน ปีพ.ศ.2526 นายเถลิง กลมเหลา ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านภูมิ่ง ทางราชการแต่งตั้ง
นายวัลลภ ภูมิเขต ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีสิ่งปลูกสร้างในโรงเรียน ดังนี้
ปีพ.ศ.2531 ได้บ้านพักภารโรงแบบ สปช.304/28 1 หลัง
ปีพ.ศ.2535 ได้อาคารเรียนแบบสปช.101/26 จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน และแบบสปช.105/29 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียนและในปี พ.ศ. 2535 ได้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 นายวัลลภ ภูมิเขต ได้รับคำสั่งจาก สปอ. เขาฉกรรจ์ให้ไปช่วยราชการที่สปอ. เขาฉกรรจ์โดยมี นางมณี มั่งคั่ง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระเพลิง
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2544 นายสุรศักดิ์ นาคสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่ากระบาก มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระเพลิง และวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 นายสุรศักดิ์ นาคสมบูรณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระเพลิง จนถึงวันที่ 16 เมษายน 2550 และวันที่ 16 เมษายน 2550 ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต1 ที่ 162/2550 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2550 แต่งตั้งให้นางมณี มั่งคั่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบึงพระราม ให้มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระเพลิง จนถึงปัจจุบัน โดยมีสิ่งปลูกสร้างในโรงเรียน ดังนี้
ปี พ.ศ.2550 ได้สร้างเวทีหน้าเสาธง ฐานพระพุทธรูป กว้าง 12 เมตร ยาว 17.50 เมตร ราคา 70,000บาท จากงบฯบริจาค
ปี พ.ศ.2551-2554 ได้สร้างรั้วรอบโรงเรียน ล้อมรอบบริเวณ 27 ไร่ ราคา 650,000 บาท จากงบฯบริจาค
ปี พ.ศ.2552 ได้สร้างถนนคอนกรีตรูปตัวยู กว้าง 5 เมตร ยาว 325 เมตร ราคา 816,000 จากงบฯอบจ.
ปี พ.ศ.2552-2553 ได้สร้างอาคารห้องเก็บของและที่เผ่าขยะ ราคา 200,000 บาท จากงบฯบริจาค
ปีพ.ศ.2553 ได้สร้างบ้านพักครูที่ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ 2 ฐานการเรียนรู้ 2 หลัง คือบ้านชาวนา และบ้านผัก ราคา 250,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปีพ.ศ.2553 ได้อาคารหอประชุมแบบสปช.100/27 1 หลังราคา 5,779,400 บาท จากงบฯ สพฐ.
ปีพ.ศ.2553 ได้อาคารศูนย์ฝึกอาชีพแบบสปช.203/26 1 หลังได้ถนนซิเมนต์กว้าง 3 เมตร ยาว 36 เมตร ได้ลานซิเมนต์รอบเสาธงกว้าง 31 เมตร ยาว 46 เมตร ได้ร่องระบายน้ำรอบสนามฟุตบอล
ราคา 2,680,000 บาทจากงบฯโรงเรียนดีประจำตำบล
ปี พ.ศ.2553 ได้ซ่อมแซมอาคารป.1ก ที่ใช้สอน ป.5-6 จากงบฯประสพภัย 810,000 บาท จากสพฐ.
ปีพ.ศ.2554 ได้สร้างฐานการเรียนรู้ การเรียนกบและการเลี้ยงปลา จำนวน 1 ฐานเป็นเงิน 30,000 บาท
จากงบบริจาคและแรงงานชาวบ้านหมู่ที่ 12 ตำบลพระเพลิง
ปี พ.ศ.2554 ได้สร้างถนนทางเดินเข้าโรงเรียน กว้าง 5 เมตร ยาว 110 เมตร ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบอาคารชั้นเดียว ป.1 ข เป็นอาคาร 2 ชั้น ได้ลานซิเมนต์จอดรถเด็กนักเรียนด้านหลังอาคาร ป.5-6 ราคา 2,000,000 บาทจากงบฯโรงเรียนดี
ปี พ.ศ.2554 ได้สร้างฐานการเรียนรู้ฐานไผ่ จำนวน 1 หลัง ราคา 50,000 บาท จากงบฯเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ.2555 ได้สร้างถนนเศรษฐกิจพอเพียง ราคา 1,940,000 บาท จากงบฯอบจ.
ปี พ.ศ.2555 ได้สร้างอาคารอนุบาล 4 ห้องเรียน ต่อเติมจากอาคาร ป.1 ข ราคา 1,500,000 บาท จากเงินบริจาค
ปี พ.ศ.2555 ได้สร้างบ้านพักครูจำนวน 2 หลัง อยู่ในฐานไม้ประดับ 1 หลัง อยู่ด้านนอกริมรั้วติดหมู่ที่ 2
ได้จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาคและกำลังแรงงานของหมู่ที่ 1,2,และ14 ตำบลพระเพลิง มาช่วยกันทำจนแล้วเสร็จราคา 200,000 บาท
ปี พ.ศ. 2555 ได้สร้างฐานพระพุทธรูป ด้านหน้าโรงเรียน ราคา 55,000 บาท จากงบฯเงินอุดหนุนและเงินบริจาคจากศิษย์เก่าและชุมชน
ปี พ.ศ. 2555 ได้สร้างฐานการเรียนรู้ คนมีน้ำยา เลี้ยงหมู ปุ๋ย เผ่าถ่าน ราคา 150,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ. 2556 ได้ต่อเติมอาคารอำนวยการเป็นห้อง USO NET ราคา 140,000 บาท จากงบห้อง USO NET
ปี พ.ศ.2556 ได้ต่อระเบียงอาคารอำนวยการด้านหน้า ราคา 75,000 บาท จากงบสวัสดิการฯ ในโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2557 ได้ปูกระเบื้องหน้าอาคารเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6
ราคา 112,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ. 2557 ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์และปูกระเบื้องเวทีหน้าเสาธง ราคา 50,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ. 2557 ได้สร้างโรงจอดรถ ราคา 150,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ. 2557 ได้สร้างเล้าเป็ด ราคา 35,000 บาท จากงบเงินอุดหนุนและเงินบริจาค
ปี พ.ศ. 2558 ได้บ่อน้ำบาดาลพร้อมอาคารติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลให้ได้มาตรฐานน้ำดื่มองค์การอนามัยโลก ราคา 1,200,000 บาท จากงบสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 9 ระยอง
ปี พ.ศ. 2558 ได้ปูกระเบื้องโรงอาหารและลานธรรม ราคา 482,238 บาท จากงบปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ
ปี พ.ศ. 2558 สร้างสหกรณ์และบริษัทสร้างการดี ราคา 200,000 บาท จากงบบริจาคและอุดหนุนบางส่วน
ปี พ.ศ. 2558 สร้างบ้านพักครูจำนวน 4 หลัง ราคา 150,000 บาท จากงบบริจาคและอุดหนุนบางส่วน
ปี พ.ศ. 2558 ทำระเบียงหน้าอาคาร ป.5-6 พร้อมชั้นวางรองเท้า ราคา 30,000 จากงบบริจาคและอุดหนุนบางส่วน
ปี พ.ศ. 2558 ปรับปรุงโรงอาหารด้านครัว ราคา 85,000 บาท จากงบกองทุนหมุนเวียนอาหารกลางวัน และเงินอุดหนุน
ปี พ.ศ. 2559 ได้สร้างสนามฟุตซอล ราคา 2,453,000 บาท จากงบอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบัน พ.ศ.2559 (ข้อมูล 31 มีนาคม 2559) โรงเรียนบ้านพระเพลิง มีนักเรียนทั้งหมด 518 คน ครูและบุคลากร 35 คน ผู้บริหาร 2 คน ครูชาย 10 คน ครูหญิง 14 คน พนักงานบริการ 1 คน ครูธุรการ 1 คน
ครูพี่เลี้ยง 1 คน และลูกจ้าง 7 คน
สภาพของชุมชน
สภาพของชุมชนในเขตบริการโรงเรียนบ้านพระเพลิง มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บนที่ดินของตนเองที่ได้มาจากการจับจองบนที่ดินที่ว่างเปล่าที่
ไม่มีเอกสารสิทธิ์ของรัฐบาลและประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในชุมชนของโรงเรียนอพยพและย้ายมาจากชุมชนอื่นทั้งใกล้และไกลจากท้องถิ่นที่มาตั้งหลักฐานในปัจจุบันประมาณ 40 ถึง 50 ปี จึงทำให้ขาดสภาพการมีวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชนในตำบลพระเพลิง แต่จะเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมจากถิ่นที่ตนอพยพมา ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคอีสาน